http://www.mediafire.com/view/nvuam4vl4a5rs11/samakom2011.pdf
ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 2555
มาจำโจทย์เลขกันเถอะ
วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556
โจทย์เรขาคณิตบางข้อในข้อสอบสมาคมคณิตประถมปี 2555
มาลองทำโจทย์กันเถอะ
น้องๆบางคนคงเคยได้สอบสมาคมคณิตศ่าสตร์กัน
อันนี้เป็นตัวอย่างโจทย์เรขาคณิตประถมของปี 2555
วิธีทำนะน้อง
1. จากผลบวกของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม = 180 องศา
พิจารณาสามเหลี่ยม ABC
จะได้ มุม A + มุม B + มุม C = 180
40 + 60 +มุม C = 180
เพราะฉะนั้น มุม C = 80
2. จากคุณสมบัติของเส้นขนาน เมื่อลากเส้นตัดผ่านเส้นคู่ขนาน จะเกิดมุมแย้งเท่ากัน
พิจารณา AD//BC โดยมี AC เป็นเหมือนเส้นที่ลากตัดผ้านเส้นคู่ขนาน
เนื่องจาก มุม BCA กับ มุม CAD เป็นมุมแย้งกัน
ดังนั้นจะได้ว่า มุม CAD = มุม BCA = 80
3. จากหลักการที่ว่า มุมที่ฐานของสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน
สามเหลี่ยม ADC เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งมี DA = DC และ มุม DAC = มุม DCA
ฉะนั้น มุม DCA = มุม DAC = 80
4. หามุม ADC โดยใช้หลักการ ผลบวกของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม = 180 องศา
จะได้ ADC = 180 - 80 -80 =20 #
วิธีทำนะน้อง
น้องๆบางคนคงเคยได้สอบสมาคมคณิตศ่าสตร์กัน
อันนี้เป็นตัวอย่างโจทย์เรขาคณิตประถมของปี 2555
จากตอนที่ 1 ข้อ 5
วิธีทำนะน้อง
1. จากผลบวกของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม = 180 องศา
พิจารณาสามเหลี่ยม ABC
จะได้ มุม A + มุม B + มุม C = 180
40 + 60 +มุม C = 180
เพราะฉะนั้น มุม C = 80
2. จากคุณสมบัติของเส้นขนาน เมื่อลากเส้นตัดผ่านเส้นคู่ขนาน จะเกิดมุมแย้งเท่ากัน
พิจารณา AD//BC โดยมี AC เป็นเหมือนเส้นที่ลากตัดผ้านเส้นคู่ขนาน
เนื่องจาก มุม BCA กับ มุม CAD เป็นมุมแย้งกัน
ดังนั้นจะได้ว่า มุม CAD = มุม BCA = 80
3. จากหลักการที่ว่า มุมที่ฐานของสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน
สามเหลี่ยม ADC เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งมี DA = DC และ มุม DAC = มุม DCA
ฉะนั้น มุม DCA = มุม DAC = 80
4. หามุม ADC โดยใช้หลักการ ผลบวกของมุมภายในรูปสามเหลี่ยม = 180 องศา
จะได้ ADC = 180 - 80 -80 =20 #
จากตอนที่ 1 ข้อ 13
วิธีทำนะน้อง
ข้อนี้ถ้าหากมองภาพไม่ออก ลองลากเส้น HI แบบพี่ดูนะ
เราจะแบ่ง สี่เหลี่ยม ABCD เป็น สี่เหลี่ยม AIHD กับ สี่เหลี่ยม IBCH
จะได้ สี่เหลี่ยม ABCD = สี่เหลี่ยม AIHD + สี่เหลี่ยม IBCH
สังเกตดูนะว่า สามเหลี่ยม ADH = สามเหลี่ยม AIH
และ สามเหลี่ยม HIB = สามเหลี่ยม BCH
เพราะฉะนั้น สี่เหลี่ยม ABCD = สี่เหลี่ยม AIHD + สี่เหลี่ยม IBCH
= 2*(สามเหลี่ยม AIH + สามเหลี่ยม HIB)
= 2*(ครึ่งหนึ่งของของสี่เหลี่ยม AHBE)
= สี่เหลี่ยม AHBE
ฉะนั้น พื้นที่ สี่เหลี่ยม ABCD = พื้นที่ สี่เหลี่ยม AHBE = 8*4 = 32 ตารางหน่วย #
จากตอนที่ 1 ข้อ 14
วิธีทำนะน้อง
ตรงส่วนที่เป็นสี่เหลี่ยม ถ้าสังเกตดีๆ จะได้ว่าความยาวด้านแต่ละด้าน เท่ากับ ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งเท่ากับ 14
วิธีการหาพื้นที่แรงเงาของข้อนี้ เท่ากับ พื่นที่สี่เหลี่ยม - พื้นที่วงกลมวงหนึ่ง
ฉะนั้น พื้นที่แรงเงา = (14*14) - (3.14 * 7 * 7) = 42.14 ตารางเซนติเมตร #
จากตอนที่ 1 ข้อ 25
วิธีคิดนะน้อง
ลากเส้นให้ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส EFGH ซึ่งจะไม่ขออธิบายว่าทำไมถึงได้ความยาวด้านละ 2 หน่วย
สำหรับพื้นที่แรเงาข้อนี้ = พื้นที่ สี่เหลี่ยมจัตุรัส EFGH - พื้นที่วงกลมวงเล็ก (ซึ่งมี r = 1 หน่วย)
ฉะนั้น พื้นที่แรเงา = (2*2) - (3.14 * 1 * 1) = 4 - 3.14 = 0.86
จากตอนที่ 2 ข้อ 5
วิธีคิดนะน้อง
1. เนื่องจาก ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
จะได้ว่า มุม BCE = มุม BAD = 60 องศา
และ มุม ADC = มุม ABC = 120 องศา
2. เนื่องจาก BE = BC ดังนั้น สามเหลี่ยม BEC เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
จะได้ มุม BEC = มุม BCE = 60 องศา
และ มุม EBC = 180 -60 -60 =60 องศา
3. CD//BA
จะได้ มุม BCE = มุม EBA = 60 องศา (มุมแย้งเท่ากัน)
มุม ABD = มุม EBA - มุม EBD = 60 - 40 = 20 องศา #
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การหาค่า sin 18 (How to find "sin 18")
นับวันการเรียนการศึกษาต้องมีการแข่งขันกันมากขึ้น
เด็กๆนักเรียนทั้งหลายนับวันก็ต้องไปเรียนพิเศษเพื่อเรียนเนื้อหาล่วงหน้า รวมทั้งเป็นการทบทวนและเสริมความรู้ที่ได้เคยร่ำเรียนมา
เพื่อการสอบ ไม่ว่าจะเป็นการสอบในโรงเรียน การสอบแข่งขัน การสอบ Entrance เพื่อเข้าโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
คณิตศาสตร์เป็นวิชาหลักสำคัญที่ใช้ในการชี้วัดความสามารถในการสอบหลายสนามด้วยกัน
และนับวันก็เริ่มมีโจทย์ประยุกต์มากขึ้นเข้าทุกวัน จากเดิมที่ปกติจะให้หาแค่ค่า sin cos tan ของมุมพื้นฐาน เช่น 30,45,60 ในวิชาตรีโกณมิติเบื้องต้น เดี๋ยวนี้เริ่มมีน้องๆหลายคนมาถามว่า “sin 18 หายังไง" ซึ่งถ้าเป็นเด็กมัธยมปลายยังไม่ค่อยรู้สึกแปลกใจเท่าไหร่
แต่น้องที่มาถามพี่เป็นเด็ก ม.ต้น นะซิ รู้สึกแปลกใจนิดหน่อย
แต่เอาเหอะพี่คิดว่ารู้วิธีการหาไว้สักหน่อยก็ดีนะ เพราะการหาค่า sin 18 ถือได้ว่าเป็นการได้ใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาประยุกต์ใช้
(สำหรับน้อง ม.ต้น
บางคนนั้นอาจจะไม่คุ้นเคยกับหลักการของเนื้อหาที่พี่จะนำเสนอ
เนื่องจากเนื้อหาบางอย่างอยู่ในหลักสูตรพื้นฐานตรีโกณมิติของ ม.ปลาย
และขอเขียนเป็นภาษาอังกฤษนิดหน่อย ไหนๆก็จะเข้า AEC แล้ว)
Solution ******
Give A = 18, so 5A = 90
3A = 90 – 2A
sin(3A) = sin(90-2A)
Because
sin 3A = 3 sin A – 4 sin3A
and sin (90-2A) = cos 2A = 1 – 2 sin2A
and sin (90-2A) = cos 2A = 1 – 2 sin2A
3 sin A – 4 sin3A = 1 –
2 sin2A
4 sin3A - 2 sin2A - 3 sin A + 1 = 0
(sin A - 1)(4 sin2A + 2 sin A - 1) = 0
If
sin A - 1 = 0, sin A = 1. However sin A = sin 18 ≠ 1,
so 4 sin2A + 2 sin A – 1 = 0
so 4 sin2A + 2 sin A – 1 = 0
4 sin2A + 2 sin A - 1 = 0
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)